SCGD ตลาดอาเซียนฟื้นหนุนโต ปักธงอัพรายได้สู่ 6 หมื่นล้านปี 73
SCGD มองสถานการณ์ตลาดวัสดุตกแต่งพื้นผิว กระเบื้องเซรามิกและสุขภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2/2567 คาดงบประมาณประจำปีช่วยหนุน เร่งเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มมากขึ้น และปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เดินหน้าขยายตลาดในภูมิภาคอาเซียน ตั้งเป้าโตทะยาน 2 เท่า แตะ 6 หมื่นล้านบาท ภายในปี 2573
นายนำพล มลิชัย ประธานเจ้าหน้าทีบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เดคคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGD ผู้นำธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดวัสดุตกแต่งพื้นผิว กระเบื้องเซรามิก และสุขภัณฑ์ในประเทศไทยในไตรมาส 1/2567 ยอดขายหลักกว่า 60% มาจากธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและธุรกิจสุขภัณฑ์ในประเทศไทย ขณะที่ยอดขายในต่างประเทศโดยรวมยังรอการฟื้นตัว
ไตรมาส 2 มีแรงหนุน
สำหรับแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2567 คาดว่า ประเทศไทยจะมีปัจจัยบวกซ้างเป็นผลจากการผ่านงบประมาณประจำปีทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเพิมมากข้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญของภาครัฐ จะสร้างความเชื่อมั่นและทำให้ ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
ส่วนในภูมิภาคอาเซียน อาทิ เวียดนาม จากความคืบหน้าในเรื่องกฎหมายที่ดินฉบับใหม่เพื่อปฏิรูปกระบวนการบริหารที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและจัดทำฐานข้อมูลที่ดินระดับชาติ แม้ว่าจะมีผลบังคับใช้ต้นปี 2568 แต่คาดว่าจะเป็นแรงผลักดันที่ช่วยสร้างบรรยากาศและกระตุ้นให้วงการอสังหาริมทรัพย์ ของเวียดนามคึกคักมากขึ้นตั้งแต่ปีนี้ ด้านประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียคาดว่าจะฟื้นตัวจากสถานการณ์เศรษฐกิจทีจะดีขึ้น
รายได้แตะ 6 หมื่นล.ปี 73
โดยบริษัทมั่นใจว่าตลาดอาเซียนจะฟื้นตัวตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ 4-5% ดังนั้น จึงตั้งเป้าหมายรายได้โดยรวมเพิมเป็น 2 เท่า หร่อประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ภายในปี 2573 ด้วย 4 กลยุทธ์ คือ
1.สร้างการเติบโตให้ธุรกิจตกแต่งพื้นผิวกระเบื้องปูพื้นและบุผนัง ผ่านแผนดำเนินการที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ ขยายการลงทุนโรงงานในพื้นที่ภาคใต้ของเวียดนาม เพิ่มยอดขายสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (HVA) เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าและสร้างฐานการจัดหาสินค้าร่วมกัน (Business Sourcing) ขยายเครือข่ายช่องทางจัดจำหน่าย และเพิ่มยอดขายสินค้าที่มีอัตราการเติบโตสูง เช่น วัสดุปิดผิวไวนิล SPC และกระเบื้องเกลซพอร์ซเลน
2. ขยายธุรกิจสุขภัณฑ์ในอาเซียน ด้วยการต่อยอดจากช่องทางจัดจำหน่ายของธุรกิจตกแต่งพื้นผิว และขยายการลงทุนโรงงานสุขภัณฑ์ใหม่ในอาเซียน โดยตั้งเป้าหมายยอดขายสุขภัณฑ์เติบโต 2 เท่า หรือกว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยในไตรมาสที่ผ่านมา SCGD ได้เร่งดำเนินการตามกลยุทธ์ขยายธุรกิจสุขภัณฑ์ในอาเซียนซึ่งเป็นอีก 1 ธุรกิจหลักของ SCGD มีสัดส่วนรายได้ประมาณ 20%
โดยบริษัทเร่งขยายช่องทาง การจัดจำหน่าย เพิมตัวแทน จำหน่ายสุขภัณฑ์ในต่างประเทศ ต่อยอดจากช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจตกแต่งพ่านผิว ในเวียดนามจากเดิม 17 ราย เป็น 39 ราย ฟิลิปปินส์จากเดิม 78 รายเป็น 85 ราย และอินโดนีเซีย จากเดิม 28 ราย เป็น 37 ราย ทำให้ปัจจุบัน บริษัทมีเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายสุขภัณฑ์รวม 161 ราย ใน 3 ประเทศดังกล่าว
3. ขยายธุรกิจสู่ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านการให้บริการแบบครบวงจรและเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น กาวและยาแนว ประตู หน้าต่าง และชุดเฟอร์นิเจอร์ครัว และอื่นๆ โดยใช้ประโยชน์จากเครือข่ายช่องทางจัดจำหน่ายทีแข็งแกร่ง
4. M&P (Merger & Partnership) ลงทุนเพื่อควบรวมกิจการและสร้างความร่วมมือกับเจ้าของกิจการเดิมในธุรกิจตกแต่งพื้นผิวธุรกิจสุขภัณฑ์ และธุรกิจผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวเนื่องทั้งใน และต่างประเทศ
Q1/67 ยอดขายหดตัว
สำหรับทิศทางไตรมาสแรก 1/2567 ยอดขายลดลงเล็กน้อยโดยมีรายได้จากการขาย 6,784 ล้านบาท ลดลง 6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และทรงตัวเม่าอเทียบกับไตรมาสก่อน แต่บริษัทมีกำไรเพิมข้น 44% เทียบไตรมาสก่อน และ 28% เทียบกับปีก่อน (หากไม่รวมผลกระทบจากการปรับโครงสร้าง และรายการ Non-Recurring อื่นๆ ในปีก่อนหน้า) จากการที่บริษัทสามารถยืนราคาขายสินค้ากระเบื้องเซรามิกและสุขภัณฑ์ได้ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน โดยสามารถขายสินค้าที่มีกำไรสูงในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงโครงการลดต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตต่างๆ ที่บริษัทได้ดำเนินการ และต้นทุนพลังงานทีลดลงอย่างต่อเน่อง
โดยไตรมาสแรกบริษัทได้ลงทุน 3 โครงการ มูลค่า 290 ล้านบาท ได้แก่ โครงการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ 5.5 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 140 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนและลดต้นทุนพลังงาน คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2568 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้า เงินลงทุน 70 ล้านบาท โดยการติดตั้งระบบบริหารคลังสินค้าและรถยกระบบอัตโนมัติ และโครงการไลน์การผลิตกระเบื้องขนาดใหญ่ที่หนองแค เงินลงทุน 80 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มเดินสายการผลิตได้ภายในสิ้นปี 2567
วางแผนคุมต้นทุน
นอกจากนี้ยังมีโครงการลงทุนเพื่อลดต้นทุนพลังงานที่ได้ลงทุนไปแล้วคาดแล้วเสร็จกลางปีนี้ ได้แก่ โครงการติดตั้ง Hot Air Generator เพื่อลดต้นทุนพลังงานที่โรงงานในประเทศไทยอีก 2 แห่ง คาดแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2567 นี้
ที่มา: หนังสือพิมพ์ทันหุ้น