แบงก์พาเหรดขึ้นดอกเบี้ยตามกนง.
หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่ % ต่อปี ส่งผลให้ 1 ธนาคารพาณิชย์เริ่มทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยกันแล้ว เริ่มจาก ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ที่นำร่องปรับขึ้นดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและ เงินกู้ โดยเงินกู้นั้น ปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) เพิ่มขึ้น 0.40% ต่อปี ปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภท เงินเบิกเกินบัญชี (MOR) เพิ่มขึ้น 0.375% ต่อปี และ ปรับ อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) เพิ่มขึ้น 0.30% ต่อปี ขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝาก ปรับเพิ่มขึ้น 0.15-0.50% ต่อปี มี ผลตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย. 2565
นางรัชนี นพเมือง รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มผู้ฝากเงิน และเพื่อเป็นการช่วยบรรเทาผลกระทบกับกลุ่มเปราะบางในด้านเงินกู้ ธนาคารจึงได้ปรับอัตราดอกเบี้ย MRR ในอัตรา ที่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อื่น ๆ
ขณะที่ธนาคารกสิกรไทย ประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เฉพาะลูกค้ารายใหญ่ โดย นายกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารตอบสนองต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวของ ธปท. แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อ เพิ่มก๋าลังชื่อและช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการรายเล็ก ในภาวะที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ธนาคารจึงปรับเพิ่ม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำให้สูงขึ้น 0.10%-0.50%
สำหรับฝังเงินกู้นั้น เพื่อให้กระทบลูกค้ารายย่อยน้อยที่สุดธนาคารจึงส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยปรับ เพิ่มดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อเฉพาะลูกค้ารายใหญ่ 0.25% มีผล ตั้งแต่วันที่ 3 ต.ค. 2565 ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย MLR ปรับเพิ่ม 0.25% จาก 5.47% เป็น 5.72% และ อัตราดอกเบี้ย MOR ปรับเพิ่ม 0.25% จาก 5.84% เป็น 6.09%
ด้านธนาคารทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ สอดรับกับแนวโน้มการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงทิศทางดอกเบี้ย ขาขึ้น มุ่งเน้นดูแลลูกค้าสินเชื่อรายย่อย โดยปรับอัตราดอกเบี้ย MRR เพิ่มขึ้น 0.20% ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นที่น้อยกว่าการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่จะมีการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย MLR 0.25% และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย MOR 0.25% โดยการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 เป็นต้นไป
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ปรับขึ้นดอกเบี้ยฝากประจำ อยู่ที่ระหว่าง 0.15%-0.80% ต่อปี ซึ่งรวมถึงบัญชีเงินฝากพิเศษ ทีทีบี อัพ แอนด์ อัพ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทุกๆ 6 เดือน และได้รับดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเงิน ฝากที่มุ่งเน้นการออมในบัญชีดอกเบี้ยสูง เพิ่มสภาพคล่อง ถอนได้ก่อนกำหนดไม่ถูกลดดอกเบี้ย และเริ่มฝากขั้นต่ำได้ที่ 5,000 บาท โดยธนาคารได้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดจาก 1.80% เป็น 2.50% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 เป็นต้น ไปเช่นกัน
โดย นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทีทีบี กล่าวว่า ทีเอ็มบีธนชาตได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบและยึดมั่นในแนวทางการช่วยเหลือและดูแลลูกค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าสินเชื่อรายย่อยที่จะใช้แนวทางการทยอยปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับตัวและบริหารจัดการสภาพคล่องได้
ด้านธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับลูกค้ารายย่อย เพื่อประคองลูกค้ากลุ่มเปราะบาง พร้อมปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำในอัตราสูงสุด 0.50% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ MLR และ MOR ปรับขึ้นในอัตรา 0.25% มีผลวันที่ 4 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (กนง.) มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบาย 0.25% เป็น % ต่อปี เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 1 ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินแล้วว่า การปรับดอกเบี้ยควร ดำเนินการด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง เพื่อประคับประคองลูกค้าในกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ธนาคารจึงยังคงอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) ที่ 5,995% และจะยังคงติดตามสัญญาณทางเศรษฐกิจและข้อมูลทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้านเพื่อประเมินการตัดสินใจอีกครั้ง โดยจะคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ สอดคล้องกับคณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (กนง.) และเป็นไปตามกลไกทางเศรษฐกิจและต้นทุนทางการเงิน ธนาคารจึงปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำในอัตราสูงสุด 0.50% สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้น ธนาคารปรับขึ้นเฉพาะดอกเบี้ย ที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (Minimum Loan Rate) ในอัตรา 0.25% จากปัจจุบันอยู่ที่ 5.25% เป็น 5.50% และ ดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิก เกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) ในอัตรา 0.25% จาก ปัจจุบันอยู่ที่ 5.845% เป็น 6.095% โดยอัตราดอกเบี้ยใหม่จะ มีผลในวันที่ 4 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประกาศขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด 0.325% ต่อปี และคงตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ในระดับเดิม อย่างน้อยถึงสิ้นปี 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และ สนับสนุนการออมของประชาชนให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น โดยมีผลตั้งแต่วันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2565
โดย นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี หรือจาก 0.75% ต่อปี เป็น 1.00% ต่อปี เนื่องจาก เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่มีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น จึงเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างค่อยเป็นค่อยไปเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาวนั้น คณะกรรมการ บริหารสินทรัพย์ หนี้สิน และการเงิน (ALCO) ของ ธอสจึงมีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อสนับสนุนการออมของประชาชนให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และคงอัตราดอกเบี้ยเงินทุกประเภทไว้ในระดับเดิมต่อไปอย่างน้อยถึงสิ้นปี 2565 โดย ให้มีผลตั้งแต่วันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2565 ดังนี้
โดยเงินฝากประจำทุกประเภท ปรับเพิ่มขึ้น 0.1-0.325% ต่อ ปี เงินฝากออมทรัพย์ ปรับเพิ่มขึ้น 0.1-0.2% ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทยังคงไว้ในระดับเดิมต่อไปไว้ให้นานที่สุด เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับลูกค้าของธนาคารโดยเฉพาะกลุ่ม ผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางได้มีเวลาปรับตัวกับภาวะดอกเบี้ยที่ มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นในอนาคต
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ประจำระหว่าง 0.15%-0.825% ต่อปี สำหรับเงินฝากประจำ 24 เดือน และ 36 เดือน เพิ่มขึ้นสูงสุด 0.825% ต่อปี เป็น 1.20% ต่อปี เพื่อดูแลผู้ฝากเงินให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และส่งเสริม การออมในระยะยาว เพื่อเสริมสร้างเงินออมที่มีความมั่นคง ในภาวะที่เศรษฐกิจยังเผชิญความท้าทายรอบด้าน
พร้อมคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อย (MRR) โดยปรับขึ้นเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) 0.25% ต่อปี เป็น 5.50% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้า รายใหญ่ชั้นดี ประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) 0.25%ต่อปี เป็น 6.07% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ซึ่งหลังการปรับขึ้นครั้งนี้ อัตราดอกเบี้ย MLR และ MOR ของธนาคารยังอยู่ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่
ที่มา: หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์