ปัจจัยเสี่ยงกดเศรษฐกิจลงทุน
นายกำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการลงทุน ธนาคารไทยพาณิชย์ (ซีไอโอ) เปิดเผยว่า ได้ประเมินเศรษฐกิจและการลงทุนปี 65 ใน 4 เรื่องหลัก โดยเรื่องแรกโควิดจะยังอยู่ไปอีกนานทำให้ผลกระทบยังไม่หายไป และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแต่ละประเทศเริ่มมีความแตกต่างน้อยลง แต่ภาคธุรกิจยังมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก กลุ่มธุรกิจที่ยังได้รับผลกระทบจากมาตรการข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น การเดินทางระหว่างประเทศ
ขณะที่เรื่องที่ 2 นโยบายการเงินการคลังจะเห็นลดคิวอีและขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้นในธนาคารกลางทั่วโลก ในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ 0.5% ต่อไปอีก 1 ปี เพื่อประคับประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และจะปรับขึ้นเป็น 1% ในปี 66 ส่วนนโยบายการคลังในประเทศพัฒนาแล้วจะเริ่มเห็นการออกนโยบายเพิ่มรายได้ภาครัฐมากขึ้น เช่น การขึ้นภาษี เหมือนกับของไทยที่มีกระแสข่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้
ส่วนเรื่องที่ 3 ต้นทุนทางการเงินเริ่มสูงขึ้นจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามการขยับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 65 ตามการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศและดุลบัญชีเดินสะพัด คาดว่าเงินบาทจะอยู่ในช่วง 32-33 บาทต่อดอลลาร์ในปลายปี 65 และจะผันผวนระหว่างปีค่อนข้างมากจากความไม่แน่นอนต่าง ๆ ทำให้ภาคธุรกิจและนักลงทุนต้องบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ และเรื่องที่ 4 แนะนำเน้นการลงทุนในหุ้นมากกว่าพันธบัตร โดยเน้นไปที่กลุ่มประเทศและธุรกิจที่มีภูมิคุ้มกันสูงและเติบโตได้ดี
นายคมศร ประกอบผล หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ ธนาคารทิสโก้ กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงที่จะกดดันเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 65 มี 3 ปัจจัย ทั้งโควิดเงิน เฟ้อยืดเยื้อต่อไปอีก ขณะที่เงินเฟ้อสูง
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์