โควิดระลอก3กดธุรกิจอสังหาชะลอตัว
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2563 ได้ส่งผลกระทบกับภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างมาก ทำให้หลายค่ายต่างต้องปรับตัวเพื่อรองรับ โดยเฉพาะล่าสุดที่มีการระบาดระลองใหม่ที่มาจากคลัสเตอร์สถานบันเทิง จะส่งผลอย่างไรกับภาคอสังหาริมทรัพย์ อยากให้ติดตามชมกูรูทางด้านนี้
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กล่าวว่า จากการรายงานผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลในภาวะปัจจุบัน พบว่าไตรมาสแรกปี 2564 มีค่าดัชนีเท่ากับ 46.3 โดยยังมีค่าดัชนีทรงตัวเท่ากับไตรมาสก่อน และยังต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 ติดต่อกันถึง 8 ไตรมาส ซึ่งเป็นผลกระทบที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสสองปี 2562 จากการมาตรการแอลทีวีในเดือน เม.ย.2562 ทำให้ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อธุรกิจการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างเห็นได้ชัด
ประกอบกับในไตรมาสแรกปี 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดยังมีการแพร่ระบาดต่อเนื่องไปในบางพื้นที่ อีกทั้งผลกระทบจากเศรษฐกิจไทยที่เพิ่งเริ่มมีการฟื้นตัวอย่างช้าๆ จึงทำให้ผู้ประกอบการยังมีความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยต่ำกว่าค่ากลางที่ 50.0
ธุรกิจอสังหาฯ ยังทรงตัว
นายศักดินา แม้นเลิศ รองกรรมการผู้จัดการสายงานบริหารโครงการ บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) มองว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ครั้งนี้นับว่ามีความรวดเร็วเป็นอย่างมาก แต่ล้วนเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนล้วนต่างเคยรับมือกันมาแล้ว ดังนั้นภาพรวมคาดว่าสถานการณ์ยังอยู่ในสภาวะทรงตัว ในส่วนมุมมองต่อผู้บริโภคนั้นมีปัจจัยเรื่องอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ และมีมาตรการของรัฐบาลลดค่าธรรมเนียมโอนและจดจำนองเหลือ 0.01% สำหรับบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท มีผลถึงสิ้นปี 2564 ซึ่งเป็นมาตรการที่จะช่วยลดภาระของผู้ซื้อ
ส่วนมุมของผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มาตรการดังกล่าวถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มีมุมมองเชิงบวกต่อสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และมีความเชื่อมั่นในการลงทุนในอนาคตมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ทิศทางการลงทุนด้านอสังหาฯ ในพื้นที่ภาคตะวันออก ปัจจุบันบริษัทมีโครงการบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมโซนตะวันออก (รามอินทราและบางนา) รวม 3 โครงการ ได้แก่ ชวนชื่น ซิตี้ วัชรพล-รามอินทรา, ชวนชื่น ทาวน์ วิลเลจ บางนา, ชวนชื่น ไพร์ม วิลเลจ บางนา ซึ่งทั้ง 3 โครงการ ในไตรมาส 1/2564 มียอดขายที่เติบโตขึ้นจากไตรมาส 4/2563 ถึง 10% คอนโดฯ เปิดขายใหม่ลดลง
นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟีนิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่ จำกัด กล่าวว่า การแพร่ระบาดรอบ 3 ซึ่งเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ทำให้การแพร่ระบาดรอบนี้มีผลโดยตรงต่อกรุงเทพมหานครมากที่สุด เพราะเป็นการแพร่ระบาดในกลุ่มของคนทำงานที่ใช้ชีวิตหรือเดินทางแบบคนกรุงเทพฯ ทั่วไป ดังนั้น การแพร่ระบาดในรอบนี้มีความเป็นไปได้ที่อาจจะมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่น และการใช้จ่ายของคนไทยมากที่สุดกว่าครั้งที่ผ่านมา อีกทั้งยังอาจจะเป็นการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่แตกต่างจากที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอีกด้วยทั้งนี้ ตลาดอสังหาฯ ไทยชะลอตัวลงแบบชัดเจนมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ โครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ลดลงแบบชัดเจนในปี 63 มีคอนโดฯ เปิดขายใหม่ประมาณ 21,000 ยูนิต และในไตรมาสที่ 1/64 มีคอนโดฯ เปิดขายใหม่ 3,838 ยูนิต ลดลงกว่า 17% จากไตรมาสที่ 1/63 และจากทิศทางการลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ของผู้ประกอบการต่างๆ ที่ประกาศแผนการลงทุนกันออกมาแล้วในช่วงที่ผ่านมา ก็มีความเป็นไปได้ที่จำนวนคอนโดฯ เปิดขายใหม่ในปี 64 อาจไม่แตกต่างจากปี 63 และมีความเป็นไปได้ที่จะน้อยกว่า เพราะผู้ประกอบการหลายรายเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในโครงการบ้านจัดสรรอย่างชัดเจน และในบางรายไม่มีการลงทุนในโครงการคอนโดฯ เลยหาช่องทางปรับตัวสู้โควิด
ด้าน นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า หลังจากที่มีการฉีดวัคซีนต้องจับตาตลาดอสังหาฯ อย่างใกล้ชิด เพราะแม้ในมุมหนึ่งวัคซีนจะเป็น Game Changer ที่ช่วยให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพิ่มโอกาสให้สามารถกลับมาเปิดประเทศ แต่ในอีกมุมหนึ่งยังมีหลากหลายปัจจัยที่จะส่งผลต่อความมั่นใจของผู้บริโภค อาทิ ประสิทธิภาพของวัคซีน ตลอดจนการดูแลของทุกภาคส่วนไม่ให้การ์ดตก
”ตั้งแต่ต้นปี แผนของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ส่วนหนึ่งหันมาเน้นเปิดตัวโครงการใหม่ในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อให้แน่ใจว่าสถานการณ์เศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภคจะฟื้นตัวอย่างเต็มที่ เมื่อมีสถานการณ์การแพร่ระบาดกลับมาอีกระลอก จะเป็นปัจจัยให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เฝ้าระวังและพิจารณาหาช่องทางการปรับตัวอย่างใกล้ชิดอีกครั้ง” นายพีระพงศ์ กล่าวทั้งนี้ สิ่งสำคัญของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งในช่วงก่อนและหลังการมีวัคซีนยังคงเป็นเรื่องเดียวกัน คือเรื่องการปรับตัว และความสามารถในการอ่านตลาดให้ขาด มองให้ออกว่าความต้องการของตลาดในสถานการณ์นั้นๆ อยู่ตรงไหน เซ็กเมนต์ไหน และปรับตัวอย่างรวดเร็ว ไปให้ทัน ภาพรวมผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์น่าจะมีภูมิคุ้มกันพอสมควรแล้ว สำหรับออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้เอง ได้สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองอย่างต่อเนื่อง และยังคงเชื่อว่าดีเอ็นเอ “Disruptor Mindset” ขององค์กรจะช่วยพาให้บริษัทปรับตัวรับมือทุกสถานการณ์ได้อย่างมั่นคง
นายพีระพงศ์ กล่าวถึงภาพรวมของตลาดในพื้นที่ตะวันออกว่า แม้ในระยะสั้น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะได้รับผล กระทบจากข่าวการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่ในระยะยาว EEC ยังคงเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพอย่างมาก ถือเป็นศูนย์กลางการลงทุนและการเติบโตแห่งอนาคต มีปัจจัยบวกจากการสนับสนุนการเติบโตของภาครัฐผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง, สุวรรณภูมิ, อู่ตะเภา)
รถไฟรางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ เชื่อมต่อเขตอุตสาหกรรมทั่วประเทศไปยังท่าเรือหลัก 3 แห่ง คือ ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานฯ และโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd)
”ในปี 2563 เป็นช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกแรกก็ยังมีการขอรับส่งเสริมการลงทุน มูลค่าการลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 43% ของการขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งประเทศ และมีแนวโน้มของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เป็น New S Curve เข้ามาลงทุนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เมื่อการเดินทางระหว่างประเทศกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง จะส่งผลให้ความต้องการการพักอาศัยระยะยาว (Long Stay) ในพื้นที่นี้สูงขึ้นอย่างมาก” นายพีระพงศ์ กล่าวนายพีระพงศ์ กล่าวว่า สำหรับออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้เองก็มีโครงการในพื้นที่ดังกล่าวหลายโครงการ อาทิ นอตติ้ง ฮิลล์ ระยอง (Notting Hill Rayong), เคนซิงตัน ระยอง (Kensington Rayong), ไนท์บริดจ์ ดิ โอเชี่ยน ศรีราชา (KnightsBridge the Ocean Sriracha) เป็นต้น
ล่าสุดเปิดตัวแฮมป์ตัน ศรีราชา (Hamp- ton Sriracha) โครงการร่วมทุนกับกลุ่มดุสิตธานี เป็นเซอร์วิส อพาร์ตเมนต์หรู 5 ดาว มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท โดยโครงการดังกล่าวถือเป็น Investment Property เต็มรูปแบบแห่งแรกของทั้ง 2 บริษัท ผสมผสานจุดแข็งของทั้งคู่ ทั้งศิลปะการดีไซน์และศาสตร์แห่งการบริการ ต่อ ยอดสู่การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีการบริการมาตรฐานโรงแรมควบคู่การบริหารจัดการค่าเช่ารายเดือนแบบคอนโดมิเนียม การันตีผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนสูงสุด 5-9% ต่อปี* จ่ายเงินปันผล Pool Dividend ทุกไตรมาส (ปีละ 4 ครั้ง) ยาวต่อเนื่อง 10 ปี* อีกทั้งยังสามารถซื้อ-ขายเปลี่ยนมือได้ตลอดเวลา
นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บมจ.เอพี ไทยแลนด์ กล่าวว่า โอกาสรอดของธุรกิจอสังหาฯ ท่ามกลางการต้องเผชิญกับสภาวะปรากฏการณ์ระลอกคลื่น (Ripple Effect) ความเสียหายที่เกิดจากโควิด-19 นั้น นอกจากแผนการบริหารจัดการภายในองค์กรเพื่อสร้างความแข็งแกร่งแล้วนั้น การบริหารจัดการพอร์ตสินค้าให้มีสินค้าพร้อมขายและกระจายไปในหลายทำเล เพื่อสร้างโอกาสและความได้เปรียบในการแข่งขันที่มากขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่นำมาซึ่งความสำเร็จในวันนี้ ควบคู่ไปกับการมี EMPOWER LIVING เป็นเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีที่ลูกค้าสามารถเลือกได้” นายวิทการกล่าว
สำหรับแผนการเปิดตัวโครงการในช่วงไตรมาส 2 บริษัทเตรียมเปิดตัวสินค้าแนวราบ จำนวน 5 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 2,660 ล้านบาท โดยทั้งหมดมีแผนจะเปิดขายในช่วงเดือนมิถุนายน แบ่งเป็น บ้านเดี่ยว 2 โครงการ มูลค่ารวม 1,650 ล้านบาท และทาวน์โฮม 3 โครงการ มูลค่ารวม 1,010 ล้านบาท โดยในปี 2564 นี้ตั้งเป้าจะมีโครงการอสังหาฯ ที่พัฒนาอยู่ทั่วประเทศ 145 โครงการ มูลค่าพร้อมขายกว่า 118,128 ล้านบาท
ด้าน นางสาวเพชรลดา พูลวรลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การฉีดวัคซีนช่วยสร้างความมั่นใจและเห็นโอกาสในการฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจมากขึ้น อย่างไรก็ดี สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจสร้างแรงกดดันระยะสั้นให้แก่ตลาดอสังหาริมทรัพย์และภาพรวมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 2/2564 ได้ สำหรับเมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ได้ทำแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หรือ Business Continuity Plan เพื่อให้บริษัทมีแผนการดำเนินธุรกิจสำหรับรองรับทุกสถานการณ์
Reference: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์