ปลดล็อกเว้นภาษีโอนทรัพย์ ทะลวงท่อพักหนี้ 10,000 ล.
องปีภาษี หรือวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ที่มีการโอน
เราเชื่อว่า มาตรการยกเว้นภาษีการโอนทรัพย์ พักทรัพย์ พักหนี้ จะทำให้ลูกหนี้ธุรกิจที่มีทรัพย์และต้องการสภาพคล่อง บังคับใช้ สรรพากรประกาศเว้นภาษีโอน พักทรัพย์ พักหนี้ ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ เงินได้ของลูกหนี้และสถาบันการเงิน ที่เข้าร่วมมาตรการ ปลดล็อกหนี้ที่ยื่นตีทรัพย์ค้างกว่า 10,000 ล้านบาท รอธปท.ไฟเขียว
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) โดยนางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน2 ออกมาระบุว่า มาตรการ พักทรัพย์ พักหนี้ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2564 มีลูกหนี้จากสถาบันการเงินเข้าร่วมมาตรการแล้ว 14 ราย ยอดอนุมัติรวม 959 ล้านบาท และยังมีลูกหนี้ที่ได้ยื่นตีโอนทรัพย์ไปยังสถาบันการเงินแล้วรวมกว่า 10,000 ล้านบาท แต่สถาบันการเงินยังไม่ได้ยื่นขออนุมัติมาที่ธปท. เพราะรอการประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.ยกเว้นภาษีตีโอนทรัพย์จากกรมสรรพากร
ล่าสุดกรมสรรพากรได้ลงประกาศอธิบดี (ฉบับที่ 34) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกัน เพื่อชำระหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 721) พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564
นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากรเปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สาระสำคัญของประกาศอธิบดีคือ ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าของทรัพย์สินและสถาบันการเงินจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า และการกระทำตราสาร ที่ได้ทำกับสถาบันการเงิน ตามมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ ในมาตรการ พักทรัพย์ พักหนี้
ทั้งนี้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าของทรัพย์สินและสถาบันการเงิน ต้องแจ้งและส่งมอบแบบยืนยันการเข้าร่วมมาตรการต่อเจ้าพนักงานที่ดินและนิติกรรมตามกฎหมาย และส่งมอบหนังสือรับรองการเข้าร่วมมาตรการจาก ธปท. ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านสรรพากรพื้นที่ภายในวันสุดท้ายขตัดสินใจเข้าร่วมมาตรการได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องกังวลภาระจากภาษีที่เกิดขึ้น และยังเป็นการลดต้นทุนให้กับลูกหนี้และสถาบันการเงิน ทำให้ลูกหนี้สามารถประกอบธุรกิจต่อได้ และไม่ต้องผิดนัดชำระหนี้ รวมทั้งเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ยังทำให้ลูกหนี้สามารถซื้อทรัพย์คืนในราคาที่เหมาะสมตามเงื่อนไขที่ ธปท. กำหนด นางสมหมายกล่าว
สำหรับค่าใช้จ่ายด้านภาษีสำหรับการโอนทรัพย์ ประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ โดยจะคิดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวน 2% จากราคาประเมินที่ดิน ค่าอากรแสตมป์ อยู่ที่ 0.5% จากราคาประเมิน หรือราคาขาย ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดสูงกว่า ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ อยู่ที่ 3.3% จากราคาประเมิน หรือราคาขาย ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดสูงกว่า และค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยคิดตามขั้นบันไดจากราคาประเมินหักค่าใช้จ่ายตามปีที่ถือครอง
มาตรการ “พักทรัพย์ พักหนี้” ถูกออกแบบมาให้ช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจที่มีทรัพย์สินที่สามารถโอนชำระหนี้ได้และยังมีศักยภาพ เพื่อไม่ให้ต้องรับภาระต้นทุนทางการเงินชั่วคราว และมีโอกาสกลับมาดำเนินธุรกิจได้ในอนาคต อีกทั้งลดการถูกกดราคาทรัพย์สินในภาวะปัจจุบัน ซึ่งลูกหนี้จะต้องยื่นเข้าร่วมมาตรการผ่านสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ หลังจากนั้นสถาบันการเงินจะยื่นเรื่องขออนุมัติวงเงินมาที่ ธปท.
ธปท.นอกจากเป็นผู้อนุมัติวงเงิน ยังทำหน้าที่เป็นผู้คำนวณราคา ค่าเช่ากรณีที่ลูกหนี้ต้องการเช่าทรัพย์นั้นไปประกอบอาชีพ รวมทั้งประเมินค่าดูแลที่เกิดขึ้นกรณีที่ลูกหนี้ไม่เช่าทรัพย์เพื่อใช้ประกอบอาชีพระหว่างเข้าร่วมมารตรการ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับลูกหนี้ ขณะเดียวกันธปท. ยังสนับสนุนสภาพคล่องในอัตราดอกเบี้ย 0.01% รวมทั้งผ่อนปรณเกณฑ์สถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรม
ส่วนเงื่อนไข มาตรการ พักทรัพย์ พักหนี้ คือ 1. เป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ที่จดทะเบียนในไทย มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในไทย 2.เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินนั้นอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2564 และไม่เป็น NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 และ 3.ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ขณะที่ทรัพย์ที่ใช้ในการโอนตามมาตรการ ต้องเป็นทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อกับสถาบันการเงินนั้นก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2564
Reference: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ